หลายๆ คนคงเคยรับซัพพอร์ตเว็บไซต์ให้ลูกค้า(หรือไม่ก็เว็บตัวเอง) และแน่นอนว่าการบำรุงรักษาเว็บไซต์ WordPress ของเราเป็นสิ่งสำคัญ นี่จะเป็นขั้นตอนที่คุณไม่ควรลืมทำบทความนี้ผมสรุปมากจากนี่นะครับ + เพิ่มเติมจากประสบการณ์ผม : https://elementor.com/…/wordpress-website-maintenance…
ทำไมเราต้องคอยซ่อมบำรุงเว็บเราหล่ะ? เพราะว่า WordPress มีการอัพเดทและปรับปรุงเสมอ ทำให้มีโอกาสที่จะมี bug หรือ error ได้ (ซึ่งนั่นก็จะส่งผลกระทบกับเงินที่จะเข้ามาของคุณ) มันจึงสำคัญมากๆ ที่จะให้เว็บไซต์ของเรา แข็งแรงปลอดภัย
เราจะแบ่งการซ่อมบำรุงเป็น 3 ช่วงคือ รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี
ตรวจเชครายสัปดาห์
1. เข้าดูหน้าเว็บไซต์ของคุณ – อย่าเอาแต่ดูหลังบ้าน เชคหน้าบ้านของเว็บบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลงไหม มีอะไรไม่โหลดไหม มีบัคอะไรไหม ปุ่มกดได้ทุกปุ่มรึเปล่า
2. เชคคอมเม้นท์ – หากคุณให้คอมเม้นท์ได้ ลองเชคดูคอมเม้นท์ดูบ้าง มี spam ไหม หรือมี feedback อะไรหากคอมเม้นท์จริงๆ ตรงนี้อาจจะลง Akismet เพื่อเชคการ spam และกรอง spam comment ให้เรา
3. Backup เว็บไซต์ – มีอะไรผิดพลาดก็จะได้มี backup ตรงนี้ผมใช้ digital ocean ผมก็แค่เปิ backup droplet รายสัปดาห์ (เสียตังเพิ่ม 10% จากค่าโฮส backup ให้รายสัปดาห์ และอยู่ต่อเนื่อง 1 เดือน)
4. อัพเดทให้ใหม่สดเสมอ ทั้ง Core WordPress, Plugin และ theme อย่างที่เรารู้ การไม่อัพเดท มักเป็นช่องโหว่ให้โดนแฮคหรือโดนมัลแวร์
5. เทส Feature ต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น ถ้าเป็น ecommerce ให้ลองกดสั่งว่ากดสั่งได้ป่าว (เพราะถ้ากดสั่งไม่ได้นั่นคือตังหายนะนั่น) หากเป็นฟอร์มให้กรอก ก็ลองกรอกดูว่ามันทำงานได้ปกติไหม
6. เชค Google Search Console – GSC จะช่วยเรื่อง SEO เยอะนะ ดังนั้นเข้าไปเชคซะ ถ้าหากมันฟ้อง หรือ แจ้งเตือนอะไรจะได้แก้ไขได้
ตรวจเชครายเดือน
7. ทดสอบ Performance ดูว่าเว็บยังโหลดไวปกติไหม ตรงนี้ทดสอบกับ pagespeed insights หรือ GTmatrix ดูว่ามันต่างจากเดิมไหม มีอะไรผิดปกติไหม
8. Analyze ทราฟฟิค – เชคจากตัว analysis ของเรา คนเข้าเป็นยังไง เพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ (ตรงนี้ผมใช้ Google Analytic)
9. เทสระบบความปลอดภัย – ตรงนี้ผมลง WordFence แล้ว scan แบบ High Sensitive เพื่อเชคสุขภาพของเว็บ อันนี้ผมใช้ตัวฟรีนะ แนะนำว่าถ้าหากเป็นแชร์โฮส อาจจะไม่ต้องลง WordFence ตลอดก็ได้ลงแค่ตอนแสกน แสกนเสร็จก็ลบออก
10. Optimize Database – คือ plugin บางตัวมันมีการสร้างแถวดาต้าเบสชั่วคราวออกมา ถ้าหากเราไม่ optimize ดาต้าเบสอาจบวมได้ ซึ่งตรงนี้ plugin พวกปรับสปีดจะมีนะ (ที่มีแน่ๆ คือ wp-rocket, wp fastest cache)
11. เชคดูลิ้งเสียหรือหน้า 404 – ตรงนี้ส่งผลกับ seo ถ้าหากลิ้งเข้าเว็บเราเข้าไปแล้วไม่เจอบ่อย ตรงนี้ผมเชคกับ ubersuggest ของพี่เนล ลองกด audit เว็บมันจะแจ้งหน้าที่เข้าไม่ได้อยู่
12. เชค backup ของคุณว่ามันยังอยู่ดีๆ จริงๆ รึเปล่า – ตรงนี้สำหรับคนที่ backup มือ ควรเชคเสมอว่าตัวที่ backup เอาไว้ มันสามารถเปิดได้จริง หรือเอากลับมาได้จริง
ตรวจเชครายปี
13. พิจารณาทราฟฟิคกับโฮสของคุณว่ามันเพียงพอไหม ถึงเวลาต้องขยายหรือเปลี่ยนโฮสรึยัง?
14. เปลี่ยน password – ควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดเพื่อความปลอดภัยอย่างน้อยปีละครั้ง เผื่อจะมีหลุดเหลิดอะไร
15. audit content ในเว็บของคุณว่าโอเครึยัง มีอะไรต้องปรับปรุงไหม ตรงนี้ผมแนะนำว่าใช้ ubersuggest แบบเดียวกับข้อ 11
16. Audit Plugin – ปลั๊กอินเป็นจุดที่โดน inject มัลแวร์ได้ง่ายๆ อีก 1 จุด ดังนั้นควรเชค version plugin หรือว่าดูว่า plugin ยังปลอดภัยไหม ไม่ควรใช้ plugin ที่ไม่ support หรือเลิกพัฒนาไปแล้วนานๆ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นการ Maintenance เว็บไซต์ WordPress ของคุณฮะฝากกดไลค์ กดแชร์ให้ผมด้วยนะps. กดซับ Youtube ผมให้ด้วยนะฮะ นะ นะ https://www.youtube.com/channel/UCKNmAqKK586dSoXzcHCZKiw